วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา

ความสำคัญ
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายนวิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน ๖) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๓ ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้


๑. เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า

๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปีการตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลายยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษาธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
๓. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้ายเมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้นวันวิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา เพื่อรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณพระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ
พุทธกิจ ๕ ประการ
๑. ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ คือเสด็จไปโปรดจริง เพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้ว ว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนา หรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง เป็นต้น
๒. ตอนบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ ซึ่งปรากฏว่าไม่วาพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึง ผู้ปกครอง นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด
๓. ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ ณ สถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก
๔. ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่างๆ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ ผู้สงสัยในปัญญาและปัญหาธรรม
๕. ตอนเช้ามืด จนสว่าง ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดได้ แล้วเสด็จไปโปรดโดยการไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ ๑โดยนัยดังกล่าวมานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่าอยู่เพียงเล็กน้อยตอนเช้าหลังเสวยอาหารเช้าแล้ว แต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนอยู่เนืองๆ เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา ๔๕ พรรษานั้นเอง ประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้ จึงถือเอาวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระองค์เป็นวันสำคัญ จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา

ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันวิสาขบูชา
เมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงในรอบปี พุทธศาสนาชนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต (พระสงฆ์ สามเณร) หรือ ฆราวาส (ผู้ครองเรือน) ทั่วไป จะร่วมกันประกอบพิธีเป็นการพิเศษทำการสักการบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดวงประทีปโลก เมื่อวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงในวันเดียวกัน ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญวิสาขบูชา กลางเดือน ๖ ประมาณเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น ๓ พิธี คือ
๑.พิธีหลวง (พระราชพิธี)
๒.พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
๓.พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)

การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา
๑. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๓. ไปเวียนเทียน ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
๔. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา
๕. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
เเบบทดสอบ

แบบทดสอบเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์


วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Woranari Chaloem _________ FacultY ColoR SporT


กีฬาคณะสีของ โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา กำลังจะเริ่มกันแล้วนะพวกเรา ++++++++++++++++++++++++++++++
1 คณะสีกรรณิการ์เลอสรวง ( สีเเสด )
2 คณะสีพวงทองโสภิณ ( สีเหลือง )
3 คณะสีอินทนิลลาวัลย์ ( สีม่วง )
4 คณะสีมรกตวรรณขจี ( สีเขียว )
5 คณะสีบงกชศรีเสาวภาคย์ ( สีชมพู )


ใต้ร่มพระบารมี
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียน
กีฬาคณะสีคงสนุกสนานและคึกคักดังเช่นทุกๆปีที่มีการจัดกีฬานะครับ

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553



เพลง IMAGINE


เนื้อเพลงที่กล่าวถึงการเพ้อฝันของนักร้องที่ต้องการให้โลกมีความสงบสุขและไม่มีการแบ่งแยกต่างๆ

ตอนนี้ประเทศไทยกำลังวิกฤต คนในชาติเกิดการไม่ลงรอยกันจนสังคมลุกเป็นไฟที่โหมกระหน่ำเเผดเผาทุกสิ่งอย่างที่ขวางหน้า ผมมีความต้องการที่ให้ทุกคนกลับมารักกันดังเดิม เฉกเช่นความเป็นคนไทยที่ปรองดองกัน จนก่อเกิดเป็นประเทศไทยรุ่งเรือง เรืองรอง -------------------- เสื้อเหลือง เสื้อเเดง เสื้อชมพู หรือเสื้อสีไหนๆ ให้หันหน้ามาคุยกันเพื่อความสงบสุขของคนในชาติ และชาติจะได้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง เป็นที่รู้กันถึงลักษณะนิสัยของคนไทยที่ต่างชาติยอมรักกัน ------------------- ตลอดไป

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

.... LบีEร์ ....




ศุนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล



ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งบริหารงานโดย บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกชั้นนำของไทย การเปิดตัวเซ็นทรัลเวิลด์ ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญของซีพีเอ็น

การเปิดตัวศูนย์นี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายมากของซีพีเอ็น เนื่องจากเราต้องนำศูนย์เก่ามาทำใหม่ให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีการปรับทั้งรูปลักษณ์และสร้างภาพลักษณ์ของศูนย์ใหม่ทั้งหมด ศูนย์นี้ถือเป็นโครงการ Flagship ของซีพีเอ็น ซึ่งเราได้พัฒนาให้เซ็นทรัลเวิลด์เป็น Lifestyle Shopping Complex แห่งแรกของไทย เป็น The Largest Lifestyle Shopping Destination in Bangkok ที่สามารถมาอัพเดตเทรนด์ใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา การเปิดตัวของเซ็นทรัลเวิลด์ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างชาติได้อย่างมาก เพราะความเป็นช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ที่ใหม่ และใหญ่ที่สุดใจกลางกรุงเทพฯ รวมถึงรูปแบบที่พิถีพิถันในการก่อสร้าง ตลอดจนร้านค้าแบรนด์ดังๆ ซึ่งยังไม่เคยมีสาขาในประเทศไทย ซึ่งเราได้ไปเชิญชวนให้เข้ามาเปิดสาขาที่นี่ นอกจากนี้ร้านค้าและแบรนด์ต่างๆ ในเครือเซ็นทรัลก็มาเปิด Flagship Store ที่นี่เช่นกัน


เซ็นทรัลเวิลด์ มีการนำ Innovation ใหม่ๆ มาใช้ในการจัดอีเว้นท์ให้มีความน่าสนใจ และตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้ทุกรูปแบบ มีการสร้าง Signature Event ที่เป็นงานระดับประเทศ มีมาตรฐานสากล ที่จัดขึ้นที่อย่างยิ่งใหญ่ทุกปี อาทิ งาน Countdown ที่ลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์ ซึ่งมีคนมาร่วมงานกว่า 300,000 คน, งาน Songkarn Festival ที่ลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์, งาน Balloon Festival, งาน Elle Fashion Week, กิจกรรม Meet & Greet นำดาราชื่อดังจากต่างชาติ มาพบกับแฟนๆ ในไทย งาน Festival ของชาติต่างๆ อาทิ งาน Japan Fest @ CentralWorld, งาน Holland Village ที่รวมเอาศิลปะ วัฒนะธรรมและอาหารของชาติเหล่านี้ มารวมไว้ในที่ๆ เดียวให้ทุกคนได้สัมผัส
กิจกรรมการตลาดของเซ็นทรัลเวิลด์ นอกจากจะสร้างความบันเทิงสนุกสนานแล้ว ในเวลาเดียวกันก็ให้ความรู้และมอบสุนทรียศาสตร์กลับไปด้วย นั่นเป็นเหตุผลที่เราพยายามจัดนิทรรศการและนำงานศิลปะดีๆ เข้ามาในศูนย์การค้า รวมถึงโครงการ The Sculpture at CentralWorld ซี่งจะเป็นศูนย์รวมงานประติมากรรมที่สร้างสรรค์โดยศิลปินชั้นนำจากนานาชาติ ที่จะนำมาจัดแสดงบริเวณลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์ เป็นต้น
ซีพีเอ็นหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะกลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ และประเทศไทย ที่สามารถเอื้อให้นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทยบรรลุผลสำเร็จได้ไม่ยาก
สำหรับนักธุรกิจที่ทำศูนย์การค้าในย่านใกล้เคียงกัน เซ็นทรัลเวิลด์เป็นเป็นพันธมิตรที่ทำให้ภาพของถนนช้อปปิ้งที่ทอดยาวตั้งแต่สี่แยกปทุมวัน ราชประสงค์ และชิดลม มีความต่อเนื่องและครบวงจร ซึ่งเมื่อผนึกรวมกันแล้ว ถนนสายนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางการช้อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกได้เลยทีเดียว
โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งมีพื้นที่โดยรวมทั้งสิ้น 830,000 ตรม. ได้จัดสรรพื้นที่ 550,000 ตรม. ไว้สำหรับส่วนช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ ที่นำเสนอมากกว่าประสบการณ์ในการช้อปปิ้ง
เซ็นทรัลเวิลด์ ยามค่ำคืน

เซน เมก้า สโตร์
เซ็นทรัลเวิลด์เป็นศูนย์การค้าชูจุดเด่นเป็นไลฟ์สไตล์แลนด์มาร์กของกรุงเทพ มีร้านค้ามากกว่า 500 ร้านค้า, โรงภาพยนตร์, ฟู้ดฮอลล์, ห้องสมุด
ร้านสินค้าแบรนด์เนม เช่น Next, Billabong, Camper, Country Road, Ted Baker, Zara, Episode, Miss Sixty, TOPSHOP, TOPMAN, British India
ร้านอาหาร โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ Bacolony on 3rd และ Heaven on 7th โดยมีร้านอาหารชั้นนำ เช่น MOS Burger, MK Gold, Gustuso, Kuu, The Manhattan Fish Market, Fondoz เป้นต้น
ร้านค้าในเครือเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น
บีทูเอส ร้านหนังสือ เครื่องเขียน บันเทิง ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (ชั้น 1-3 โซนฟอรั่ม)
พาวเวอร์บาย ศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในเอเชีย (ชั้น 4 โซนแดซเซิล)
ซูเปอร์สปอร์ต ศูนย์รวมอุปกรณ์กีฬาใหญ่ที่สุดในเอเชีย (ชั้น 3 โซนแดซเซิล)
เอเชี่ยน เซนส์เซส ศูนย์รวมสินค้าและบริการพื้นเมือง ปัจจุบัน พื้นที่นี้ได้ยกเลิกแล้ว
เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ ฟู้ดฮอลล์และซูเปอร์มาร์เกตที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และได้รับการจัดอันดับเป็นฟู๊ตสโตร์ที่ดีอันดับ 3 ของโลก จากนิตยสาร The Grocer (ชั้น 7 โซนแดซเซิล)
เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า เป็นโรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟ ซีเนม่า กรุ๊ปจำนวน 15 โรง (ชั้น 7 8 และ 9) โดย World Max Screen เป็นโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ที่สุด ความจุ 800 ที่นั่ง นอกจากนี้ ยังมีโรงภาพยนตร์ระบบ Dolby 3D Digital และระบบ Digital 2K อีกด้วย
อุทยานการเรียนรู้ (ทีเคพาร์ค) ห้องสมุดทันสมัยแห่งแรกในประเทศไทย บริหารโดย สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (ชั้น 8)
ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน (Isetan) ห้างสรรพสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น สาขาเดียวในประเทศไทย
เซ็นเตอร์พ้อยท์ (Centerpoint) ศูนย์กลางแหล่งรวมวัยรุ่น ชั้น 7-8 โซน B ซึ่งย้ายมาจากสยามสแควร์ โดยแบ่งเป็นโซนร้านค้าสไตล์เอเชีย ไซบีเรีย เดอะ ดิจิตอล เพลย์กราวน์ และเซ็นเตอร์พอยท์ เพลย์เฮาส์
ห้างสรรพสินค้าเซ็น (ZEN) ชูจุดเด่น "The First Ever Asia Trendy Mega Store" ตัวห้างแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก คือ เซน เมก้าสโตร์ (ZEN Mega Store) ซึ่งเป็นส่วนสรรพสินค้า และ เซน เวิลด์ (ZENWorld) ซึ่งเป็นส่วนบริการต่าง ๆ เช่น ฟิตเนส หน่วยบริการการศึกษา ลานกิจกรรม สวนหย่อม และร้านอาหาร

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากลและไทย


ประวัติศาสตร์สากลในความหมายทั่วไป หมายถึง ประวัติศาสตร์ของผู้คนและชาติต่าง ๆ ในโลกตะวันตก (Western World) ซึ่งได้แก่ ผู้คนและชาติในทวีปยุโรป และอเมริกา ประวัติศาสตร์สากลมีช่วงเวลาที่ยาวนาน ย้อนไปเป็นเวลาหลายพันปี เพื่อความสะดวกในการศึกษา นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งเป็นช่วงเลาที่มีลักษณะร่วมกัน เรียกเป็นสมัย คือสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบัน หรือร่วมสมัยนักประวัติศาสตร์สากล ได้พัฒนาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์มาเป็นเวลาประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว เพื่อให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทำให้เรารู้และเข้าใจ เรื่องราวทั้งหลายของผู้คนในอดีตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการเข้าใจปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีเหตุผลการนับและเทียบศักราชสากลและไทย1.การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini”2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.)
ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน
การที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปีพุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี
พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี
พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี
มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี
มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี
จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี
พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่ โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี
มหาศักราช (ม.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีกษัตริย์ศักราชวงศ์พระองค์หนึ่งในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1 วิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มเมื่อ 1 เมษายนของทุกปี
จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน " สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัล-ลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดยจะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่
รัตนโกสินทร์ ศก (ร.ศ.) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร.ศ.)
วิธีการเทียบศักราช เช่น การคิดเทียบหา พ.ศ.
พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543
พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621
พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181
พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

- แบ่งต่ามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์

- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ

- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง

- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ

- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง

ตารางการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทยสมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม- สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒- สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖- สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐- สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบันการเทียบยุคสมัยสำคัญระหว่างประวัติศาสตร์สากลกับไทยประวัติศาสตร์สากลสมัยโบราณ
- อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
- อารยธรรมอียิปต์
- อารยธรรมกรีก
- อารยธรรมโรมัน
สิ้นสุดสมัยโบราณ เมื่อ ค.ศ. ๔๗๖(พ.ศ.๑๐๑๙)สมัยกลาง
- จักรวรรดิโรมันตะวันออกสิ้นสุด ค.ศ.๑๔๕๓
- การสร้างอาณาจักรคริสเตียน- การปกครองในระบบฟิวดัล- การฟื้นฟูเมืองและการค้า- การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ- การค้นพบทวีปอเมริกา
สมัยใหม่
- การสำรวจทางทะเล
- การปฏิวัติวิทยาศาสตร์- การปฏิวัติอุตสาหกรรม- การปฏิวัติฝรั่งเศส- สงครามโลกครั้งที่ 1-2- สิ้นสุดสมัยใหม่ ค.ศ.1945
สมัยปัจจุบัน- ร่วมสมัย – ปัจจุบัน
- ยุคสงครามเย็น- ยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย-อาณาจักรลังกาสุกะ-อาณาจักรทวารวดี-อาณาจักรโยนกเชียงแสน-อาณาจักรตามพรลิงค์
สมัยสุโขทัย
สมัยอยุธยา
สมัยธนบุรีสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (๒๔๘๙ - ปัจจุบัน)ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่แสดงความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของกาลเวลา๑. ประวัติศาสตร์สากลเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สากละนำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคจักรวรรดินิยม เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และพลังทางสังคม ซึ่งทำให้ประเทศในทวีปยุโรปมีอำนาจเข้มแข็งมีความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจ มีความเจริญรุ่งเรือง แต่การมีอำนาจและความมั่นคงดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคจักรวรรดินิยม สิ้นสุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้มหาอำนาจทั้งหลายหยุดการล่าอาณานิคม แต่อาณานิคมทั้งหลายที่เป็นอยู่ก็ยังคงเป็นอาณานิคมต่อมาอีกหลายปี หลายชาติ เริ่มเรียกร้องเอกราช และส่วนใหญ่ได้เอกราชคืนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2๒. ประวัติศาสตร์ไทยเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ที่นำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคการปรับปรุงประเทศอยู่ในช่วง พงศ. 2394-2475 หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนี้มีการปรับปรุงและปฏิรูปประเทศทุกด้านทั้งการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ
วิธีการทางประวัติศาสตร์ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรองในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูลจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา
แบบทดสอบจ้า.............
-learners.in.th/file/chanok/การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์.doc
-http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2436

รับน้อง จ้า ..............


ถวายบังคม

Woranari Chaloem รับน้อง สายรหัส ม.4/8 สนุกสนานเสียเหลือเกิน


ทางโรงเรียนมีการกำหนดให้รับน้อง ที่เป็นห้องรหัสของเรา ( ศิลป์คำนวณ - ห้องคิง ) ในวันพฤหัสบดี สีแสด เเต่น้องรหัสอยู่สีม่วงนะจ๊ะ ที่ 13 พฤษภาคม 2553 กิจกรรมครั้งนี้ ชั้นเละเทะ... เอ้ย? ... กินใจเสียเหลือเกิ๊นนนนน..............พี่น้องไทย

ทางห้องของเรามีการ อม แสดงความสามัคคีด้วย.......

เมล่อน กับ น้องโฟร์ ( น้องรหัส )



เเมกซ์ กับ น้องโฟร์

ขมิ้น กับ น้องเจมส์ ( น้องรหัส )



เเมกซ์ กับ น้องเเคน



เฟิร์น กับ น้องหวาย



สวัสดีครับสิ่งศักดิ์สิทธิ์