วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

!! เวลา ( Time ) และความสำคัญของเวลา !!

คุณค่าของเวลา
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 10 ปีมีค่าขนาดไหน ถามคู่แต่งงานที่เพิ่งหย่าร้างกัน
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 4 ปีมีค่าขนาดไหน ถามนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งรับปริญญาจากมหาวิทยาลัย
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 ปีมีค่าขนาดไหน ถามนักเรียนที่สอบไล่ตก
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 9 เดือนมีค่าขนาดไหน ถามแม่ที่เพิ่งคลอดลูก
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 เดือนมีค่าขนาดไหน ถามมารดาที่คลอดบุตรยังไม่ครบกำหนด
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 อาทิตย์มีค่าขนาดไหน ถามบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 ชั่วโมงมีค่าขนาดไหน ถามคนรักที่รอพบกัน
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 นาฑีมีค่าขนาดไหน ถามคนที่พลาดรถไฟ รถประจำทาง หรือเรือบิน
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 วินาฑีมีค่าขนาดไหน ถามคนที่รอดตายจากอุบัติเหตุอย่างหวุดหวิด
ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลาเสี้ยวหนึ่งของวินาฑีมีค่าขนาดไหน ถามนักกีฬาโอลิมปิคที่ชนะเหรียญเงิน
ถ้าท่านอยากรู้ว่ามิตรภาพมีค่าขนาดไหน เสียเพื่อนสักคนหนึ่ง
เวลาไม่เคยรอใคร เมื่อมันผ่านไปแล้ว มันจะไม่กลับมาอีก จงใช้เวลาของท่านทุกขณะอย่างดีที่สุด
ท่านจะรู้คุณค่าของเวลาเมื่อท่านแบ่งปันกับคนที่พิเศษสุดในชีวิต

บทนำ
เวลา (Time) เป็นทรัพย์สินที่มีค่า และไม่สามารถหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทดแทนได้ บุคคลผู้ประสบ
ผลสำเร็จ ล้วนแล้วแต่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด การบริหารเวลาจึงถือเป็นความจำเป็นที่นักบริหาร
จะต้องตระหนัก และให้ความสำคัญ เพราะผู้บริหารเวลาเป็นก็คือผู้บริหารชีวิตเป็น
2. ความหมายของเวลาและความสำคัญของเวลา
2.1 ความหมายของเวลา
เวลา (Time) คือ มาตรวัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวแปรที่ต่อเนื่อง (Continuous Variable)
2.2 ประเภทของเวลา
2.2.1 เวลาทางกายภาพ (Physical Time) เป็นเวลาในเชิงสมมติใช้หน่วยเป็น ปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที และวินาที
2.2.2 เวลาทางจิต (Psychological Time) เป็นเวลาตามความรู้สึกตามแต่การรับรู้
ของบุคคลแต่ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป เช่น วัดเป็นความเร็ว ความช้า และความเบื่อหน่าย ฯลฯ
2.3 ความสำคัญของเวลา
2.3.1 เวลาคือชีวิต ไม่มีวันย้อนกลับ ไม่มีอะไรมาทดแทนได้
2.3.2 การปล่อยให้เวลาเสียไปเปล่า ๆ เท่ากับเป็นการปล่อยให้ชีวิตเสียไปเปล่า
2.3.3 การเป็นนายเหนือเวลาเท่ากับเป็นนายเหนือชีวิตอันจะได้รับประโยชน์สูงสุด
3. การบริหารเวลา
3.1 ความหมายของการบริหารเวลา
ศาสตราจารย์ Harold Koontz ให้ความหมายว่า “การบริหารคือการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น”
3.2 ความหมายของการบริหาร
การบริหารเวลา คือ กระบวนการทำงานอย่างมีระบบ โดยใช้เวลาน้อยแต่ให้ผลคุ้มค่ามากสุด
4. การบริหารเวลาให้เกิดประสิทธิภาพ
4.1 การวางแผน (Planning)
4.1.1 การวางแผน เป็นหลักสำคัญของการทำงานการเรียน การทำงาน จึงต้องกำหนดจุดหมายใช้เวลาที่ประหยัด และก่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพ
4.1.2 ควรกำหนดแบบงานแต่ละปี เดือน สัปดาห์ และวัน
4.1.3 ฝึกใช้ปฏิทินในการวางแผนจนเป็นนิสัย
4.1.4 แม้ว่าการวางแผนจะต้องสิ้นเปลืองเวลาในตอนเริ่มแรก แต่ในขั้น
สุดท้าย การวางแผนจะช่วยรักษาเวลาและให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
4.2 การจัดเวลาให้เหมาะสมงาน
4.2.1 กำหนดและจัดลำดับความสำคัญของงานไว้ในแผนการทำงาน
4.2.2 งานใดที่ไม่สำคัญหรือกิจกรรมใดที่ไม่เกิดประโยชน์ควรตัดทิ้งไป
4.2.3 ให้เวลาสำหรับงานที่สำคัญ ๆ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของงานมากที่สุด 4.2.4 แยกประเภทของงานไว้ให้ชัดเจน แล้วจัดทำพร้อมกัน เพื่อประหยัดเวลา
4.2.5 ทำให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไปอย่างมีระบบเสมอ
4.3 การจัดเวลาให้เหมาะสมกับคน
4.3.1 ควรตัดเวลาที่เกี่ยวกับงานสังคม หรือการประชุมที่ไม่จำเป็น
4.3.2 ควรปฏิเสธบุคคลที่ขอติดต่อพบปะบ้าง ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง
4.3.3 ให้บุคคลอื่นมีส่วนแบ่งภาระความรับผิดขอบงานตามสมควร
4.3.4 มอบหมายงานกระจายงานให้บุคคลอื่น ควรทำอย่างมีประสิทธิภาพกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจน
4.3.5 ควรสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิดขึ้นเสมอ หาแนวทางให้รบกวนสมาธิการทำงานให้น้อย
4.4 การสั่งการ/เตือนคนเสมอ
4.4.1 สร้างวิธีที่ฉลาดขึ้น แต่ไม่ใช่คลั่งการจัดระบบจนเกินไป
4.4.2 ทำอะไรให้ลุล่วงไปเป็นขั้นตอน แต่ไม่ใช่ใสใจแต่การจัดระบบแต่ไม่ทำอะไรเลย 4.4.3 ทำอะไรมากเกินไป จนไม่เคยประเมินคุณค่าที่แท้จริงของผลงาน
4.4.4 จงทำงานวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้
4.4.5 การทำอะไรอย่างสมบูรณ์ ชนิดไม่มีดีนี้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ
4.4.6 ฝึกฝนการตัดสินใจเพื่อทำงานตามที่เห็นว่าเหมาะสมให้ทันเวลา
4.5 การควบคุมการทำงานเพื่อการมีเวลาที่ดีกว่า
4.5.1 การรู้จักใช้เวลาคือการรู้จักวิธีการทำงานที่ฉลาด นั่นแสดงว่าจะมีเวลาสำหรับตัวเอง สำหรับครอบครัวและสำหรับสังคมมากขึ้น
4.5.2 อย่าทำตนเป็นบุคคลที่แยกตนออกจากงานไม่ได้ในบางครั้งหยุดพักผ่อนตามสมควรพอเหมาะ การทำงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน อาจเกิดผลเสียได้
4.5.3 ฝึกมีวินัยในการทำงาน ไม่พลัดวันประกันพรุ่ง เพื่อการมีเวลาที่ดีกว่า
4.5.4 การพบปะ/สังสรรค์/ ร่วมกิจกรรมสังคม จะต้องเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ ไม่เสียเวลากับเรื่องไร้สาระ นำไปสู่ปัญหาไม่มีที่สิ้นสุด สิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ
4.5.5 คนที่รู้จัดใช้เวลา “เป็น” เท่านั้นจึงจะมีเสรีภาพให้กับ “ชีวิต” ที่แท้จริง
5. การจัดแบ่งเวลาและงาน
5.1 การจัดแบ่งเวลาและงานโดยใช้ตารางเมื่อสามารถจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของงานได้แล้ว ก็พิจารณาใช้ตารางแบ่งเวลาและงานเข้าช่วยโดยการเขียนงานใส่ช่องที่เหมาะสมกับการใช้เวลาตามตารางแสดงข้างล่าง
จากตารางนี้จะทำให้ผู้บริหารรู้ได้ว่าเวลานั้นจะต้องทำงานอะไร หรือให้ใครไปทำอะไร ข้อสำคัญ ต้องไม่ลืมว่า ผู้บริหารที่ดีคือผู้ที่ทำให้งานเสร็จ ไม่ใช่ทำงานให้เสร็จ
5.2 ประโยชน์ของการบริหารเวลา
เมื่อเวลาเป็นสิ่งที่มีค่า มีความสำคัญ มีจำกัด ไม่อาจจะหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ ในฐานะผู้บริหาร หากเวลาได้ประโยชน์คุ้มค่า เหมาะสมย่อมเกิดประโยชนทั้งส่วนรวมและส่วนตัว เพราะสามารถทำงานที่สำคัญได้เสร็จตามกำหนด ไม่ทำงานซ้ำซ้อน รู้จักสร้างตนสร้างความรับผิดชอบ สร้างทีมงานทั้งการมีส่วนร่วมเลือกทำงานให้คุ้มค่ากับเวลาและที่สำคัญมีความสุขกับการทำงาน
5.3 ข้อเสนอแนะในการบริหารเวลา
เรียงลำดับความสำคัญของงานว่างานใดควรทำให้เสร็จก่อน และควรหยุดรับทำกิจกรรมหลายอย่างเมื่อมีเวลาจำกัด และควรกำหนดตารางเวลาล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และพยายามทำให้ได้ตามกำหนด โดยเผื่อความยึดหยุ่นไว้บ้าง ตารางเวลาล่วงหน้าที่ควรจัดทำ เช่น ตารางต่อวัน, ตารางต่อสัปดาห์, ตารางต่อเดือน , ตารางต่อภาคเรียนและตารางต่อปี
5.4 สุภาษิตที่เกี่ยวกับเวลา
One day is worth two tomorrows.
วันนี้มีค่าเท่ากับวันพรุ่งนี้ถึงสองวัน
Time is the devourer of things.
เวลาคือตัวกลืนสรรพสิ่ง
Time and tide wait for no man.
เวลาและวารีไม่มีจะคอยใคร
Prepare today for the needs of tomorrow.
เตรียมพร้อมในวันนี้เพื่อภาระในวันพรุ่งนี้
Time is money.
เวลาเป็นเงินเป็นทอง
Lost time is never found again.
เวลาที่เสยไปจะเรียกคืนมาไม่ได้
Better late than never
มาสายยังดีกว่าไม่มาเสียเลย
The darkest hour is before the dawn.
เวลาที่มืดมนย่อมมาก่อนรุ่งสว่างที่สดใส

สรุป
การบริหารเวลาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่ในสังคม ที่มีความสลับซับซ้อน กิจกรรมทางสังคมมีความเคลื่อนไหว (Dynamic) จนแทบตามไม่ทันสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไปไม่มีวันสิ้นสุด ผู้ที่มองเห็นคุณค่าของเวลา และสามารถบริหารเวลาที่มีอยู่ให้บังเกิดผลประโยชน์ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ และจะสามารถขจัดปัญหาอันเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ รอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นย่อมหมายความว่าบุคคลนั้นได้ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในมือได้แล้ว ทั้งนี้ด้วยสาเหตุเพียงประการเดียว คือ เขาบริหารเวลาเป็น
การวัดเวลา
เวลา เป็นหนึ่งในปริมาณพื้นฐานซึ่งมีอยู่น้อยนิด ปริมาณมูลฐานเหล่านี้ไม่สามารถถูกนิยามได้จากปริมาณอื่น ๆ ด้วยเพราะความเป็นพื้นฐานที่สุดของปริมาณต่าง ๆ ที่เรารู้ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องวัดปริมาณเหล่านี้แทนการนิยาม ในอดีตประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสตกาล อารยธรรมสุเมเรียนได้ใช้ระบบเลขฐานหกสิบ (sexagesimal) เป็นหลักในการวัดเวลาในบางปริมาณ เช่น 60 วินาที เท่ากับ 1 นาที และ 60 นาที เท่ากับ 1 ชั่วโมง ทว่าบางปริมาณก็ยึดเลข 12 และ 24 เป็นหลัก คือชั่วโมง ซึ่ง 12 ชั่วโมง เท่ากับ 1 กลางวัน (โดยประมาณ) และ 1 กลางคืน (โดยประมาณ) และ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 1 วัน ซึ่งเราก็ได้ใช้ระบบที่ชาวสุเมเรียนคิดไว้มาจนถึงปัจจุบันนี้
ในอดีต มีการใช้นาฬิกาแดด ซึ่งประกอบด้วยแท่งวัตถุรูปสามเหลี่ยม (gnomon) ซึ่งจะทำให้เกิดเงาบนขีดที่ขีดไว้บนแท่นของนาฬิกาแดด แต่นาฬิกาแดดต้องอาศัยการปรับเทียบกับละติจูด จึงจะสามารถบอกเวลาท้องถิ่นได้ถูกต้อง นักเขียนในอดีตนามว่า ไกอุส ไพลนิอุส เซกันดุส (Gaius Plinius Secundus) ชาวอิตาลี บันทึกว่านาฬิกาแดดเรือนแรกในกรุงโรมถูกปล้นมาจากเมืองกาตาเนีย (Catania) ที่เกาะซิซิลี (Sicily) ทางตอนใต้ของอิตาลี เมื่อ 264 ปี ก่อนคริสตกาล แต่ให้เวลาไม่ถูกต้อง จนกระทั่งมีการปรับเทียบกับละติจูดของกรุงโรมเมื่อ 164 ปี ก่อนคริสตกาล[6] จากนั้น จึงมีการยึดเวลาเที่ยงตรง คือเวลาที่เงาของนาฬิกาแดดสั้นที่สุดเป็นเวลาเปิดศาลสถิตยุติธรรมในกรุงโรม
เครื่องมือวัดเวลาอีกชนิดหนึ่งที่แม่นยำก็คือ นาฬิกาน้ำ ซึ่งคิดค้นครั้งแรกในอียิปต์ ต่อมาก็เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากสามารถใช้วัดเวลาในตอนกลางคืนได้ ทว่าต้องมียามรักษาเวลาคอยเติมน้ำมิให้พร่องอยู่เสมอ กล่าวกันว่า เพลโต ได้ประดิษฐ์นาฬิกาน้ำสำหรับปลุกนักเรียนของเขาให้ตื่นขึ้น โดยอาศัยหลักการเติมน้ำลงในภาชนะทรงกระบอก โดยในภาชนะนั้นจะมีภาชนะใส่ลูกตะกั่วหลาย ๆ ลูก ซึ่งถ้าน้ำมีมากจนล้น ลูกตะกั่วก็จะตกลงใส่ถาดทองแดง เกิดเสียงดังขึ้น
เครื่องมือวัดเวลาอีกชนิดหนึ่งคือ นาฬิกาทราย นิยมใช้ในการสำรวจเป็นระยะทางไกล ๆ เพราะพกพาง่าย ไม่คลาดเคลื่อน เฟอร์ดินันด์ มาเจลลัน นักสำรวจชาวโปรตุเกส ได้ใช้นาฬิกาชนิดนี้ในการสำรวจของเขามาแล้ว ธูป หรือเทียน สามารถที่จะใช้เป็นนาฬิกาได้ โดยเฉพาะก่อนที่จะมีนาฬิกาที่มีกลไกที่ชัดเจนดังเช่นในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน เราใช้นาฬิกาแบบมีกลไก ซึ่งก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้ไฟฟ้า สปริง หรือลูกตุ้ม ขับเคลื่อนเข็มนาฬิกาให้บอกเวลาได้ ทั้งนี้ยังต้องมีโครโนมิเตอร์ (chronometer) สำหรับปรับเทียบเวลา โดยเฉพาะนาฬิกาข้อมือแบบใช้กลไก ในปัจจุบัน นาฬิกาที่แม่นยำที่สุดก็คือ นาฬิกาอะตอม ซึ่งใช้ปรับเทียบนาฬิกาชนิดอื่น ๆ และรักษาเวลามาตรฐาน
ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ปัจจุบันเราสามารถใช้ระบบชี้ตำแหน่งบนผิวโลก (global positioning system) ร่วมกับโพรโทคอลเวลาเครือข่าย (network time protocol) เพื่อช่วยให้การรักษาเวลาทั่วโลกเป็นไปในทางเดียวกัน

อ้างอิง
http://www.moe.go.th/wijai/time%20manag.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2
http://www.narak.com/reallife/article/article05.shtml

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

--- วิธีการทางประวัติศาสตร์ ---

เฮโรโดตัส Herodotus บิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้นำคำว่า ประวัติศาสตร์ history มาจากคำในภาษากรีกว่า historeo ที่แปลว่า การถักทอ มาเขียนเป็นชื่อเรื่องราวการทำสงครามระหว่างเปอร์เซียกับกรีก โดยใช้หลักฐานต่าง ๆ เป็นข้อมูล ในการเขียนเป็นเรื่องราว ซึ่งคล้ายกับการถักทอผืนผ้าให้เป็นลวดลาpที่ต้องการ เฮโรโดตัส Herodotus จึงเป็น นักประวัติศาสตร์คนแรก ที่นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มาศึกษาเพื่อเขียนเป็นเรื่องราว อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหตุการณ์ในอดีต อาจมีผู้สงสัยว่ามีทางเป็นไปได้หรือไม่และจะศึกษากันอย่างไร เนื่องจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วและบางเหตุการณ์เกิดขึ้นมานานมาก จนสุดวิสัยที่คนปัจจุบันจะจำเรื่องราวหรือศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง นักประวัติศาสตร์ ได้อาศัยร่องรอยในอดีตเป็นข้อมูลในการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่ว่านี้เรียกว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ การศึกษาประวัติศาสตร์ มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใด รวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่นำมาใช้ เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน ดังนั้นวิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต ว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ประเภทหลักฐานประวัติศาสตร์

1.หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
1.1หลักฐานชั้นต้น
1.2หลักฐานชั้นรอง

2.หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
2.1หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
2.2หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

3.หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
3.1หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

1.1หลักฐานชั้นต้น primary sources หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้างหลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ
1.2หลักฐานชั้นรอง secondary sources หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2.1หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sourcesหมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
2.2หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
3.1หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
3.2หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียด ลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่น ตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วย
1. การกำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน(เรื่องอะไร ช่วงเวลาใด ที่ไหน)
2.รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ครบถ้วนครอบคลุม
3.ตรวจสอบความจริงจากหลักฐานที่เรียกว่าการวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์
4.วิเคราะห์ข้อมูลและตีความเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง
5.นำเสนอผลงานความรู้ที่ค้นพบโดยปราศจากอคติและความลำเอียงวิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีการทาง

วิทยาศาสตร์วิธีการทางประวัติศาสตร์ กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และมีบทส่วนแตกต่างกันดังนี้
1.วิธีการทางประวัติศาสตร์มีการกำหนดประเด็นปัญหาเพื่อสืบค้นหาคำตอบ เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสร้างสมมติฐานขึ้นแล้วทดลองเพื่อ ตรวจสอบสมมติฐานนั้น
2.วิธีการทางวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสร้างสถานการณ์ใหม่ หรือ ทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น แต่นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถสร้างสถานการณ์ขึ้นใหม่ให้เหมือนกับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นครั้งเดียว มีลักษณะเฉพาะ และไม่สามารถสร้างซ้ำได้อีก แต่นักประวัติศาสตร์จะรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานอย่างหลากหลาย ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน จนกระทั่งได้ข้อมูลที่จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถอธิบายและสรุปเป็นหลัก การได้ ดังนั้นแม้นักประวัติศาสตร์จะมิได้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่พยายามหาข้อมูลให้มาก เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงที่น่าเป็นไปได้ แต่นักวิทยาศาสตร์จะทดสอบหรือทดลองให้ได้ผลสรุปด้วยตนเอง
3. การนำเสนอผลงานของนักวิทยาศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ก็อาศัยหลักการความเป็นไปได้มาคาดคะเน และสรุปผลเช่นกัน แต่ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถนำไปทดลองซ้ำๆ ก็จะได้ผลเช่นนั้นทุกครั้ง แต่ผลสรุปทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถนำไปทดลองได้ และมีความแตกต่างที่เป็น “มิติของเวลา” เช่นเดียวกับศาสตร์ทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวแปรได้ทั้งหมด
4. ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถนิยามคำเฉพาะ เพราะความหมายจะไม่ชัดเจนตายตัวในทุกกาลและเทศะ เช่น ประชาธิปไตยของท้องถิ่นหนึ่ง กับอีกท้องถิ่นหนึ่งจะมีนัยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้หรือผู้นิยามซึ่งแตกต่างกับวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้นิยามคำเฉพาะที่มีความหมายตายตัวไม่ เปลี่ยนแปลงตามเวลาและสถานที่คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ได้แก่1.วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการวิจัยเอกสารและหลักฐานอื่นๆ ที่เป็นร่องรอยจากอดีตอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมา อย่างเป็นระบบ และมีเหตุมีผล2.ขั้นตอนการวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์หรือการตรวจสอบความจริงจากข้อมูลและหลักฐาน ซึ่งเป็นขั้นตอนของการค้นหาความหมายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลักฐานจะทำให้ผู้ศึกษา ประวัติศาสตร์ระมัดระวัง และคิดพิจารณาข้อเท็จ และข้อจริงที่แฝงอยู่ในหลักฐานให้ชัดเจน3.วิธีการทางประวัติศาสตร์เน้นการเข้าใจอดีต คือ การให้ผู้ศึกษาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ต้องทำความเข้าใจยุคสมัยที่ตนศึกษา เพื่อให้เข้าถึงความคิดของผู้คนในยุคนั้น โดยไม่นำความคิดของปัจจุบันไปตัดสินอดีต อย่างไรก็ตาม เมื่อประวัติศาสตร์คือการสืบค้นอดีตของสังคมมนุษย์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่ง เป็นวิธีการในการสืบสวนและค้นคว้า จึงนับเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบหนึ่งที่มีเหตุผลประกอบผลสรุปนั่นเอง

+++ อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง จังหวัดสงขลา +++



บทคัดย่อ
โครงงานประวัติศาสตร์เรื่องอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง เป็นโครงงานระดับชั้นมัธยมศึกษา จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและสาเหตุที่ได้รับการยกย่องให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งสมาชิกในกลุ่มมีความเห็นตรงกันว่าสถานที่แห่งนี้น่าสนใจ ทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ สวยงามและมีประวัติที่น่าสนใจเหมาะแก่การศึกษาและได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี อีกทั้งสมาชิกบางคนในกลุ่มก็มีความคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้ด้วย

กิตติกรรมประกาศ
โครงงานประวัติศาสตร์เรื่องอุทยานแห่งาชาติเขาน้ำค้าง สำเร็จได้ด้วยความกรุณาจากอาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานได้ให้คำแนะนำและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ขอขอบคุณนายสีพุด-นางอำไพ ประยูรเต็ม ที่ให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องการเดินทางและงบประมาณตลอดการศึกษา ตลอดจนขอขอบคุณผู้ปกครองของสมาชิกในกลุ่มทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและช่วยให้โครงงานประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

คณะผู้จัดทำ


บทที่1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
จากการที่ได้ศึกษาโครงงานประวัติศาสตร์เรื่องอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ซึ่งทำให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยที่เยาวชนรุ่นหลังมักจะมองข้ามไปและหันไปให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและค่านิยมสมัยใหม่มากขึ้นโดยที่ไม่ได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของไทย
อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างที่ได้ไปศึกษามานั้นเป็นสถานที่ที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์รวมถึงมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง
2.เพื่อสำรวจธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง


ประวัติความเป็นมาของอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง
ประวัติเขาน้ำค้าง
เขาน้ำค้างเป็นยอดเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี สมัยโบราณคนที่เคยขึ้นไปบนยอดเขาจะเห็นมีน้ำค้าง เป็นเกล็ดอยู่ตามยอดหญ้า ลักษณะ เป็นใยแมงมุมแม้แต่ตอนเที่ยงวันก็มีน้ำค้างประปรายอยู่บนยอดหญ้าซึ่งเป็นสภาพที่แปลกเป็นอย่างยิ่ง จึงเรียกขานกันว่า"เขาน้ำค้าง" เขาน้ำค้าง เป็นเสมือนเขตหวงห้ามเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอยู่ในความยึดครองของ ผู้ก่อการร้ายโจรจีน คอมมิวนิสต์ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่ภูมิประเทศเป็นถิ่นทุรกันดาร เทือกเขาสลับซับซ้อน ทำให้เป็น ฐานปฏิบัติการใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของแถบนี้ แต่ ในที่สุดจากการปฏิบัติการตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น โดยนำนโยบาย การเมืองนำการทหาร กองทัพภาคที่ 4 และหน่วยผสมพลเรือน ตำรวจทหาร ที่ 43 (พตท.43) ได้นำนโยบายนี้เข้าปฏิบัติการ สามารถเข้ายึดค่ายปฏิบัติการได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2523ทำให้โจรจีน คอมมิวนิสต์สลายตัวไปในที่สุด
การได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
ในคราวประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2526 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 นายเถลิง ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้สั่งการให้กรมป่าไม้ ดำเนินการสำรวจบริเวณภูน้ำค้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมเคยเป็นฐานที่มั่นของโจรจีนคอมมิวนิสต์ เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และราษฎรตำบลบ้านโตนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ได้มีหนังสือลงวันที่ 3 สิงหาคม 2526 ขอให้กรมป่าไม้พิจารณาพื้นที่บริเวณน้ำตกพระไม้ไผ่และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงของเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งมีน้ำตกและธรรมชาติที่สวยงาม สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/2786 ลงวันที่ 23 กันยายน 2526 เสนอกรมป่าไม้ กรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1412/2526 ลงวันที่ 26 กันยายน 2526 ให้นายสมภพ สุขวงศ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปสำรวจหาข้อมูลบริเวณเทือกเขาน้ำค้าง อำเภอนาทวี น้ำตกพระไม้ไผ่ ในบริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา และบริเวณใกล้เคียง จากรายงานการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 14 มกราคม 2527 ปรากฏว่า บริเวณที่สำรวจในพื้นที่ป่าเขาน้ำค้าง ป่าเขาแคน ป่าควนสยา ป่าควนเขาไหม้ และป่าควนสำหรง เนื้อที่ประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจสวยงาม เช่น น้ำตกจำนวนหลายแห่ง ตลอดจนมีสถานที่ประวัติศาสตร์ฐานที่มั่นของโจรจีนคอมมิวนิสต์เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือด่วนมากที่ กษ 0713/717 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2527 เสนอกรมป่าไม้ ซึ่งได้มีคำสั่งที่ 309/2527 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2527 ให้ นายสมภพ สุขวงศ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปดำเนินการจัดตั้งและปรับปรุงป่าเขาน้ำค้าง ท้องที่อำเภอนาทวีและอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นอุทยานแห่งชาติ จากผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นพื้นที่มีอิทธิพลมาก่อน แม้ว่าทางราชการจะปราบปรามขั้นเด็ดขาดแล้ว โจรจีนคอมมิวนิสต์บางส่วนที่ยังเหลืออยู่พยายามกลับมาสร้างอิทธิพลและได้วางกับระเบิดชนิดต่างๆ ไว้ทั่วพื้นที่ ซึ่งอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างได้ประสานงานกับฝ่ายทหาร ดำเนินการขจัดปัญหาและอันตรายให้เสร็จสิ้น อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดิน ป่าเขาแดน ป่าเขาน้ำค้าง ป่าควนสิเหรง ป่าควนสยา และป่าควนเขาไหม้ ในท้องที่ตำบลคลองทราย ตำบลเขากวาง ตำบลทับช้าง ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี และตำบลปริก ตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอน 127 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 65 ของประเทศ




ลักษณะภูมิประเทศ

ประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนเป็นแนวยาวไปตลอดจนถึงพรมแดนประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วยยอดเขาที่สำคัญ คือ ควนสยา ควนเขาไหม้ โดยมียอดเขาน้ำค้างเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดประมาณ 648 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร หลายสาย เช่น คลองนาทวี คลองทับช้าง คลองทรายขาว เป็นต้น ดินจะมีลักษณะเป็นดินร่วน ดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย ส่วนลักษณะหินเป็นพวกหินปูนและหินแกรนิตเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงทำให้มีฝนตกชุก มีฤดูฝน ยาวนานระหว่างเดือน พฤษภาคม-มกราคม และฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พื้นที่ป่าส่วนใหญ่จะเป็นป่าดงดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นอุดมสมบูรณ์ ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้หลุมพอ ตะเคียน กะบากดำยาง จำปา สยาแดง ไข่เขียว เปรียง ขานาง แต้ม มังคะ พิกุลป่า มะม่วงป่า เป็นต้น และมีไม้พื้นล่างได้แก่ หมากชนิดต่างๆ หวาย ไผ่ ระกำ กล้วยไม้ เฟิร์น เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ หมูป่า หมี เก้ง เลียงผา ลิงหางสั้น ชะนี สมเสร็จ เสือดำ กระจง อีเห็น เต่า และนกนานาชนิด เช่น นกเงือก นกหว้า ไก่ฟ้า ไก่ป่า นกกระทาดง นกยูง นกขุนทอง นกกางเขน เป็นต้น



จุดเด่นที่น่าสนใจ
Ø น้ำตกโตนลาด มีลักษณะเป็นพื้นลาดระยะยาวสวยงาม มีน้ำไหลตลอดปี บนพื้นหินมี ตะไคร่น้ำสีเขียวขึ้นอยู่ เต็มทั่วพื้นที่ เป็นน้ำตกที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวไปใช้บริการมากนักสภาพจึงยังคงเป็นธรรมชาติ อยู่ห่างจากหมู่บ้านนาปรัง ประมาณ 5 กิโลเมตร กิจกรรม
Ø เที่ยวน้ำตก น้ำตกโตนดาดฟ้า มีลักษณะเป็นน้ำตกสูงเหมือนดาดฟ้า มีหินยื่นเหมือนหลังคาสูงประมาณ 20 เมตร น้ำไหลแรง สองข้างทางเต็มไปด้วยตะไคร่น้ำ มีบรรยากาศธรรมชาติ ที่ร่มรื่นสวยงาม ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ตามทางเดินจะได้ยินเสียงนกและชะนีร้องอยู่เป็นระยะ กิจกรรม
Ø เที่ยวน้ำตก วังหลวงพรม มีลักษณะเป็นน้ำตกเล็กๆเตี้ยๆ มีหินใหญ่อยู่ตรงกลาง ทำให้ลักษณะน้ำตกแยกเป็น 2 สายเล็ก ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำหรือวังน้ำ ที่ใหญ่และลึก เต็มไป ด้วยสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลาจะมีขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพราะยังไม่มีผู้ใดมารบกวน กิจกรรม
Ø เที่ยวน้ำตก เมืองลูกหนึ่ง อยู่บริเวณใกล้ยอดเขาน้ำค้าง มีก้อนหินโต ลักษณะคล้ายกำแพงเมืองโบราณ ซากหินคล้ายมีเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง กิจกรรม
Ø เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา น้ำตกโตนไม้ปีก สายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงโดยมีไม้ปักอยู่ตรงกลางจนเป็นที่มาของชื่อน้ำตก น้ำตกโตนไม้ปีก ตั้งอยู่กลางป่าลึก ต้องใช้เวลาเดิน 1 วัน การเข้าไป ท่องเที่ยวต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยในการนำทางก่อน สามารถติดต่อได้ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ กิจกรรม
Ø เที่ยวน้ำตก - เดินป่าระยะไกล น้ำตกพรุชิง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 4 กม. เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในอุทยานฯ สายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูง การเดินทางสู่น้ำตกต้องไปตามเส้นทาง เดินป่า โดยต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง กิจกรรม
Ø เดินป่าระยะไกล - เที่ยวน้ำตก ค่ายพักโจรจีนคอมมิวนิสต์ กรมที่ 8 (อุโมงค์) อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง หรือหมู่บ้านปิยมิตร 5 อยู่บริเวณเขาน้ำค้าง หมู่ 1 ต.คลองกวาง ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร ถนนเป็นทางลาดยางเดินทางสะดวก สองข้างทางเป็นป่าที่ยังสมบูรณ์ เป็นฐานที่มั่นหรือฐานปฏิบัติการใหญ่ที่สุดของ จ.ค.ม.ในแถบนี้ มีลักษณะเป็น ถ้ำหรืออุโมงค์ธรรมชาติที่ใหญ่ และมีความวิจิตรพิศดารของธรรมชาติ เป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารที่สำคัญ และทางทิศตะวัน ออกของอุโมงค์ มีน้ำตกพรุชิงที่สวยงามด้วยด้านหน้าก่อนเดินเข้าไปชมภายในอุโมงค์จะมีนิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมา ข้อมูลและภาพถ่ายให้ ได้ชมกัน บริเวณอุโมงค์ในอดีตเป็นหมู่บ้านคอมมิวนิสต์ หลังจากการสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลเกือบ 40 ปี พรรคคอมมิวนิสต์ได้ประกาศยุติการสู้ เข้าร่วม เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 อุโมงค์นี้ เป็นอุโมงค์ดินเหนียวมีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย ขุดด้วยกำลังคนใช้เวลาประมาณ 2 ปี ภายในแบ่งเป็น 3 ช่องทาง ลึก 3 ชั้น มีมีช่องทางเข้า-ออก 16 ช่อง มีบันไดเชื่อมระหว่างชั้น ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงภายในอุโมงค์ยาว 1 กิโลเมตร ภายในอุโมงค์แบ่งเป็นห้องๆ เช่น ห้องประชุม ห้องพยาบาล ห้องวิทยุ ห้องครัว สนามซ้อมยิงปืน เป็นต้น และยังมียาสมุนไพรจำหน่าย เสียค่าเข้าชมคนละ 20 บาท กิจกรรมชมประวัติศาสตร์




สถานที่ติดต่อและการเดินทาง
อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างสำนักงานป่าไม้จังหวัดสงขลา,อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90000 การเดินทาง รถยนต์ สามารถเข้าถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างได้ 2 เส้นทาง จากอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4113 (นาทวี-บ้านประกอบ) ถึงบ้านสะท้อนจะมีทางแยกขวาตามเส้นทางบ้านสะท้อน-สะเดา ไปอีก 19 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทาง 27 กิโลเมตร จากอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4243 ผ่านบ้านม่วง ตำบลสำนักแต้ว บ้านเกาะหมี ถึงอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 27 กิโลเมตร เส้นทางด้านนี้ ต้องขึ้นเขาบางช่วง
การเดินทางใช้เส้นทางหาดใหญ่-นาทวี-บ้านประกอบ-อุโมงค์เขาน้ำค้าง ระยะทางประมาณ 92 ก.ม. หรือเส้นทาง สะเดา-อุโมงค์เขาน้ำค้าง ระยะทาง 26 ก.ม.อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ที่ ต่างไปจากที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในเขตจังหวัดสงขลา ด้วยสภาพป่า ที่อุดมสมบูรณ์มากก่อให้เกิดอากาศบริสุทธิ์ อันเหมาะอย่างยิ่งแก่การพักผ่อน ชื่นชมธรรมชาติอันงดงามสมบูรณ์ของป่าเขา และมีโอกาสได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของอุโมงค์ และยังจะได้ศึกษาถึงการดำรงชีวิตในช่วงที่ยัง เป็นยุทธภูมิการสู้รบของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยหลังการสู้รบเป็นเวลานาน ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ได้ประกาศยุติการต่อสู้ แล้วเข้าร่วมเป็นผู้รวมพัฒนาชาติไทย เมื่อปี พ.ศ.2530 พร้อมทั้งได้ปรับปรุงซ่อมแซมอุโมงค์ที่เสียหายเพื่ออนุรักษ์ไว้ ให้ชนรุ่นหลังได้ท่องเที่ยวและศึกษาแรกเริ่มนั้น อุโมงค์แห่งนี้มีช่องทางเข้า-ออก เพียง 3 ช่องทาง ต่อมาได้ขุดขยาย ให้มีขนาดกว้างใหญ่ขึ้น และลึกถึง 3 ชั้น มีช่องทางเข้า-ออก ได้ 16 ช่อง(1.5 x 2 ม.) มีบันได เชื่อมระหว่างชั้น ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงภายในติดต่อกันยาวประมาณ 1,000 เมตร สามารถจุคนได้ประมาณ 200 คน ภายในอุโมงค์แบ่งแยกเป็นห้องๆไว้หลายห้อง อันประกอบด้วยห้องประชุมขนาดใหญ่-ขนาดเล็ก ห้องธุรการ ห้องวิทยุ ห้องพยาบาล ห้องครัว ห้องผู้นำ สนามซ้อมยิงปืนสนามหัดขี่มอเตอร์ไซด์และ ห้องสุขา ทั้งนี้ใช้เวลาขุดอุโมงค์แห่งนี้ ทั้งหมดด้วยกำลังคนประมาณ 2 ปีนอกจากนี้ บริเวณเนินเขาภายนอกอุโมงค์ ยังจัดให้มีค่ายปฏิบัติการ ประกอบด้วยสนามบาสเกตบอล โรงครัว ที่พักชาย-หญิง ห้องวิวาห์ (เรือนหอ) และห้องปฏิบัติการเตรียมพร้อมในปัจจุบันอุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง ได้รับการปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ มีร้านอาหารบริการที่น่าสนใจมาก คือ สมุนไพรจีน และในอนาคตจะมีที่พักไว้บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย

ผลจากการศึกษา
ได้ทราบประวัติความเป็นมาของอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง คือ สถานที่ปฏิบัติการของกองโจรจีนคอมมิวนิสต์ และได้เห็นความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลาว่าก็ไม่แพ้จังหวัดเลย


ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้ร่วมกันอภิปรายเหตุและผลของการทำงาน
2. ระดมสมองร่วมกันเป็นทีม
3. ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์
4. ได้ทราบประวัติความเป็นมาของสถานที่ที่ได้ทำโครงงาน
5. ได้ท่องเที่ยวในที่ใหม่ๆ


ความรู้สึกของการทำโครงงานนี้
รู้สึกดีสำหรับการได้ทำโครงงานสถานที่สำคัญในจังหวัดสงขลา การรู้จักการร่วมกันทำงานเป็นทีมทำให้เกิดความรู้สึกดีๆแก่เพื่อน อีกทั้งได้ทำโครงงานนี้ในรูปแบบสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ นั่นก็คือ Blog เป็นการบูรณาการร่วมกับเทโนโลยีสารสนเทศ ฝึกการใช้งานสื่ออย่างสร้างสรรค์

(ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้เขต 1 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา)