วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากลและไทย


ประวัติศาสตร์สากลในความหมายทั่วไป หมายถึง ประวัติศาสตร์ของผู้คนและชาติต่าง ๆ ในโลกตะวันตก (Western World) ซึ่งได้แก่ ผู้คนและชาติในทวีปยุโรป และอเมริกา ประวัติศาสตร์สากลมีช่วงเวลาที่ยาวนาน ย้อนไปเป็นเวลาหลายพันปี เพื่อความสะดวกในการศึกษา นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งเป็นช่วงเลาที่มีลักษณะร่วมกัน เรียกเป็นสมัย คือสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบัน หรือร่วมสมัยนักประวัติศาสตร์สากล ได้พัฒนาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์มาเป็นเวลาประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว เพื่อให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทำให้เรารู้และเข้าใจ เรื่องราวทั้งหลายของผู้คนในอดีตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการเข้าใจปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีเหตุผลการนับและเทียบศักราชสากลและไทย1.การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini”2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.)
ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน
การที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปีพุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี
พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี
พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี
คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี
มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี
มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี
จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี
พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่ โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี
มหาศักราช (ม.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีกษัตริย์ศักราชวงศ์พระองค์หนึ่งในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1 วิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มเมื่อ 1 เมษายนของทุกปี
จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน " สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัล-ลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดยจะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่
รัตนโกสินทร์ ศก (ร.ศ.) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร.ศ.)
วิธีการเทียบศักราช เช่น การคิดเทียบหา พ.ศ.
พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543
พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621
พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181
พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

- แบ่งต่ามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์

- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ

- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง

- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ

- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง

ตารางการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทยสมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม- สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒- สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖- สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐- สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบันการเทียบยุคสมัยสำคัญระหว่างประวัติศาสตร์สากลกับไทยประวัติศาสตร์สากลสมัยโบราณ
- อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
- อารยธรรมอียิปต์
- อารยธรรมกรีก
- อารยธรรมโรมัน
สิ้นสุดสมัยโบราณ เมื่อ ค.ศ. ๔๗๖(พ.ศ.๑๐๑๙)สมัยกลาง
- จักรวรรดิโรมันตะวันออกสิ้นสุด ค.ศ.๑๔๕๓
- การสร้างอาณาจักรคริสเตียน- การปกครองในระบบฟิวดัล- การฟื้นฟูเมืองและการค้า- การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ- การค้นพบทวีปอเมริกา
สมัยใหม่
- การสำรวจทางทะเล
- การปฏิวัติวิทยาศาสตร์- การปฏิวัติอุตสาหกรรม- การปฏิวัติฝรั่งเศส- สงครามโลกครั้งที่ 1-2- สิ้นสุดสมัยใหม่ ค.ศ.1945
สมัยปัจจุบัน- ร่วมสมัย – ปัจจุบัน
- ยุคสงครามเย็น- ยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย-อาณาจักรลังกาสุกะ-อาณาจักรทวารวดี-อาณาจักรโยนกเชียงแสน-อาณาจักรตามพรลิงค์
สมัยสุโขทัย
สมัยอยุธยา
สมัยธนบุรีสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (๒๔๘๙ - ปัจจุบัน)ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่แสดงความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของกาลเวลา๑. ประวัติศาสตร์สากลเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สากละนำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคจักรวรรดินิยม เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และพลังทางสังคม ซึ่งทำให้ประเทศในทวีปยุโรปมีอำนาจเข้มแข็งมีความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจ มีความเจริญรุ่งเรือง แต่การมีอำนาจและความมั่นคงดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคจักรวรรดินิยม สิ้นสุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้มหาอำนาจทั้งหลายหยุดการล่าอาณานิคม แต่อาณานิคมทั้งหลายที่เป็นอยู่ก็ยังคงเป็นอาณานิคมต่อมาอีกหลายปี หลายชาติ เริ่มเรียกร้องเอกราช และส่วนใหญ่ได้เอกราชคืนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2๒. ประวัติศาสตร์ไทยเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ที่นำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคการปรับปรุงประเทศอยู่ในช่วง พงศ. 2394-2475 หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนี้มีการปรับปรุงและปฏิรูปประเทศทุกด้านทั้งการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ
วิธีการทางประวัติศาสตร์ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรองในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูลจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา
แบบทดสอบจ้า.............
-learners.in.th/file/chanok/การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์.doc
-http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2436

1 ความคิดเห็น: